ประธานาธิบดี แฟรงคลิน รูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกา เคยกล่าวไว้ว่า "เกมที่ดีที่สุดของเบสบอลคือเกมที่มีสกอร์ 8 ต่อ7" รูสเวลล์เกมส์ ดำเนินเรื่องผ่านอิโอชิมะ เซอิกากุโจ บริษัทขนาดกลาง ชานเมืองโตเกียว ผู้ผลิตสินค้าที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งมีประธานบริษัท มิทสึรุ โฮโซกาวะ (โทชิอากิ คาราซาว่า) เป็นผู้กุมบังเหียนบริหารในปัจจุบันโฮโซกาวะ เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งได้ไม่นาน ในช่วงที่เศรษฐกิจประเทศอยู่ในภาวะย่ำแย่ และหนำซ้ำยังถูกซ้ำเติมด้วยภาคการเงินที่ถดถอย และคู่แข่งทางธุรกิจที่เล่นนอกกติกา เขาแก้ปัญหาเบื้องต้น ด้วยการประกาศยุบทีมเบสบอลของบริษัทอาโอชิมะในที่ประชุม ท่ามกลางความตกตะลึงของเหล่าผู้บริหาร และยังแจ้งกับที่ประชุมอีกว่า ธนาคารอาจระงับการปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทในงวดต่อไป ดังนั้น เพื่อแสดงให้ธนาคารเห็นว่า บริษัทได้พยายามกอบกู้สถาณการณ์ จึงควรยุบทีมเบสบอลของบริษัท ซึ่งใช้เงินงบประมาณถึงปีละ 300 ล้านเยนในการทำทีมที่เคยเป็นดาวรุ่ง แต่ตอนนี้กลับเป็นดาวโรย จนเป็นที่มาของการเป็นตัวถ่วงของบริษัท โฮโซกาวะจะทำอย่างนั้นได้ต่อเมื่อสามารถเกลี้ยกล่อมให้ผู้ก่อตั้งและประธานคนก่อนของบริษัท ทาเคชิ อาโอชิมะ (ซึโตมุ ยามาซากิ) เห็นด้วยกับเขาเสียก่อน แต่เมื่อเขาไปพบกับท่านประธาน กลับถูกถามเรียบๆ กรีดใจว่า “คุณมี “อิซึ่ม” ในฐานะที่เป็นประธานบริษัทไหม ถ้าคุณต้องการไล่พนักงานออก คุณจะต้องมี “อิซึ่ม” ในฐานะประธาน” โฮโซกาวะตอบกลับไปอย่างไม่ลังเลว่า แม้เขาจะยังไม่มี “อิซึ่ม” ในตอนนี้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เขาจะเป็นผู้ปกป้องบริษัทอาโอชิมะอย่างแน่นอน และนั่นคือ “อิซึ่ม” ในแบบฉบับของเขา มาร่วมลุ้นกันว่าอิซึ่มของประธานโฮโซกาวะจะช่วยแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ในยามวิกฤติที่สุดของบริษัทได้อย่างไร บทสรุปสุดท้ายของบริษัทจะเป็นเหมือนรูสเวลล์เกม ที่ในทางเบสบอลหมายถึงการแข่งขันที่ฝ่ายชนะ ชนะด้วยคะแนนเพียงหนึ่งรันเหนือคู่ต่อสู้หรือไม่ การต่อสู้ที่สูสีคู่คี่ จะทำให้ทีมเบสบอลเป็นแต้มชี้ขาดความอยู่รอดของบริษัท หรือที่จริงแล้วในทางธุรกิจไม่มีคำว่าชนะหรือแพ้เสมอไป รับประกันความดุเด็ดเผ็ดมัน เข้ม เต็มครบทุกรส โดยนักเขียน จุน อิเคะอิโดะ ซึ่งถ่ายทอด ฮันซาวะ นาโอกิ จนทำเรตติ้งถล่มทลายมาแล้วในญี่ปุ่น
|