มหาภารตะ ซึ่งแต่งขึ้นระหว่างปี 300 ก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 300 ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลกวรรณคดี ด้วยร้อยกรองถึง 100,000 โศลกๆ ละ 2 บาท (บรรทัด) (ถึงแม้ว่าผลการพิมพ์เชิงวิพากษ์วิจารณ์ล่าสุดแก้ไขใหม่ให้ลดลงเหลือเพียง 88,000 โศลกก็ตาม มหาภารตะก็ยังยาวกว่ามหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์รวมกันถึงแปดเท่าและยาวกว่าคัมภีร์ไบเบิล(ฉบับไชยทันยา เจ็ด)ถึงสามเท่าอ้างตามฉบับของนรสีมหานแล้วมีเพียงประมาณ4,000บรรทัด เท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับใจความหลักของเรื่องส่วนที่เหลือเป็นตำนานหรือ นิทานปรัมปราที่เพิ่มเติมเข้ามาหรืออีกนัยหนึ่งมหาภารตะมีลักษณะคล้ายกับการ เดินทางยาวไกลไปตามทางแยกย่อยอ้อมวกวนนั่นเองกล่าวกันว่า“อะไรก็ตามที่มีอยู่ในมหาภารตะยังหาได้ในที่อื่นอีกแต่อะไรก็ตามที่ไม่มีในมหาภารตะจักหาไม่ได้ในที่อื่นใดอีกแล้ว” ชื่อมหากาพย์นี้ หมายความว่า“(เรื่องราวของ)ภารตะที่ยิ่งใหญ่”ภารตะเป็นบรรพบุรุษแรกเริ่มของทั้งเหล่าปานฑพ และเการพ ที่ต่อสู้กันในมหาสงคราม แต่คำว่า ภารตะโดยทั่วไปยังหมายถึงเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียอีกด้วย ดังนั้นมหาภารตะบางครั้งจึงหมายถึง“เรื่องราวที่ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย”
|