การทำสงครามนั้น เป็นปกติที่จะมีแพ้มีชนะบ้าง อย่างใน สงครามโลกครั้งที่สอง นั้น กว่าสัมพันธมิตรจะชนะเยอรมันได้ ก็ใช้เวลาและกำลังคนไปมาก และเป็นธรรมดาที่จะแพ้ในการรบบางครั้งบ้าง
การจะพ่ายแพ้เพราะเหตุสุดวิสัย เช่น ถูกจู่โจมโดยไม่รู้ตัว การขาดแคลนอาวุธยุทธปัจจัย ฯลฯ ก็คงเป็นเรื่องปกติที่น่าเห็นใจจริงๆ แต่หากจะต้องพ่ายแพ้เพราะการวางแผนที่ผิดพลาด การละเลยข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ เห็นๆ ย่อมเป็นความพ่ายแพ้ที่น่าอัปยศอดสู ที่แย่คือเหตุแห่งความพ่ายแพ้มักมาจากความผิดพลาดของผู้บัญชาการระดับบิ๊กๆ แต่ผู้รับกรรมย่อมไม่พ้นทหารชั้นผู้น้อยทั้งหลายทั้งปวง
Operation Market Garden ที่เป็นเหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่อง A Bridge Too Far ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีบรรยากาศที่แตกต่างจากชัยชนะของสัมพันธมิตรใน เรื่อง The Longest Day อย่างสิ้นเชิง (ทั้งสองเรื่องนี้ เดิมเป็นหนังสือสารคดีสงคราม เขียนโดย Cornelius Ryan ) ยุทธการครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากทีสัมพันธมิตรประสบความสำเร็จจากการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ในเดือนมิถุนายน 1944 (พ.ศ.2487) และรุกคืบเข้าปลดปล่อยฝรั่งเศสได้เป็นที่เรียบร้อย แต่ปัญหาก็ตามมาเนื่องจากเส้นทางส่งกำลังบำรุงที่ยาวขึ้น ความขัดแย้งระหว่างนายพลคนสำคัญของนายคือ มอนต์โกเมอร์รี่ที่นำทัพอยู่ทางเหนือ และนายพลแพตตัน ที่คุมกำลังทางใต้ และความปรารถนาที่หาทางเผด็จศึกโดยเร็วเพื่อให้ทหารได้กลับบ้านในวันคริ สมาสต์ ในเดือนกันยายน 1944 นายพลมอนต์โกเมอรรี่จึงหารือกับนายพลไอเซนฮาวร์ในการที่จะเปิดฉากการรุกเข้า ไปในฮอลแลนด์ ตามแผนยุทธการ Market Garden
ยุทธการดังกล่าว ประกอบด้วยกำลังสองส่วนใหญ่ คือ
กำลังพลร่ม 3 กองพล จะไปกระโดดร่มหลังแนวข้าศึกเพื่อ ยึดสะพานสำคัญ 3 สะพานพร้อมกันจากใต้ไปเหนือ คือ กองพลพลร่มสหรัฐฯ ที่ 101 ยึดสะพานไอฮูเวน กองพลพลร่มสหรัฐฯ ที่ 82 ยึดสะพานไมนีเกน และกองพลพลร่มอังกฤษที่ 1 ยึดสะพานอาร์นเฮม หน่วยทั้งสามจะต้องยึดเป้าหมายไว้ท่ามกลางวงล้อมข้าศึกจนกว่ากำลังหนุนจะมา ถึง ทหารม้ากองพลน้อยที่ 30 ของอังกฤษ จะฝ่าแนวป้องกันของเยอรมันจากทางใต้เข้าไปช่วยเหลือทหารพลร่มทั้งสามหน่วยจากใต้ไปเหนือตามลำดับ
|