"I Am Not Madame Bovary ไม่เพียงบอกเล่าเส้นทางการต่อสู้อย่างมุ่งมั่นเพื่อความยุติธรรมของสาวชาวบ้านคนหนึ่งเท่านั้นหากยังสะท้อนภาพพิกลพิการของการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะระบบข้าราชการที่หาได้ใส่ใจกับงานบริการประชาชน อันเป็นหัวใจหลักของการทำงาน แต่กลับผลักไสผู้คนใต้การปกครองออกไปอย่างไม่แยแส ทำหน้าที่ของตนให้จบๆไปแค่วันๆหนึ่งก็พอหากชาวบ้านคนใดเดือดเนื้อร้อนใจก็ไปหาทางแก้ปัญหากันเอาเอง เช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับสาวใหญ่ หลีสั่วเหลียน ที่ออกมาร้องทุกข์เรื่องการหย่ากับอดีตสามีที่เธอพยายามอุทรณ์กับทางการว่า มันเป็นการหย่าปลอมๆ ขอให้ศาลพิจารณาใหม่แน่นอนว่าคดีมโนสาเร่แบบนี้ ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนไหนใส่ใจ เพราะไหนๆก็หย่าขาดกันตามกฎหมายไปแล้ว จึงพากันส่ายหน้าปฎิเสธ เมื่อหมดหนทางหลีสั่วเหลียนจึงตัดสินใจบ่ายหน้าออกเดินทางไปเมืองใหญ่ เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษอดีตสามีและบรรดาเจ้าหน้าที่ข้าราชการผู้เกี่ยวข้องฐานบกพร่องต่อหน้าที่ โดยใช้เวลานานเป็นสิบปี"
|