ราวกับเป็นเรื่องปรกติของการเมืองในช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง มีการปฏิวัติรัฐประหารกันเป็นว่าเล่น จะว่าน่าเศร้าก็น่าเศร้า แต่ถ้าจะมองให้เป็นเรื่องน่าขัน มนุษย์เราก็คิดไปกันได้อีกเหมือนกัน มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่แรงเท่าไม้ซีกไม่คิดงัดไม้ซุก ก็ปรับตัวปรับใจยอมรับ เอาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย คิดให้ความทุกข์ที่ถาโถมไม่เป็นเรื่องสลดหดหู่ใจไปเสีย
แต่เชื่อเถิดว่าความจริงมันก็เป็นเรื่องน่าเศร้าอยู่ดี
แม้ President ‘s Barber ผลงานของผู้กำกับ อิม ชานซาง จะนำเสนอยุคสมัยของประธานาธิบดี ปาร์ค ชุงฮี ซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศเกาหลีใต้ในยุคร่วมสมัยยาวนานที่สุด ด้วยท่าทีของดราม่าปนอารมณ์ขันเบาๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ถึงความรู้สึกเศร้าๆ ที่ปะปนอยู่ในหนัง
ซอง ฮันโม(ซง กังโฮ ) ช่างตัดผมในกรุงโซล ย่านเฮียวดาจอง ชุมชนที่ใกล้ Blue House ซึ่งเป็นที่พำนักของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ โชคชะตาเล่นตลกให้เขากลายมาเป็นช่างตัดผมของประธานาธิบดี ปาร์ค ชุงฮี ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เขามีส่วนรู้เห็นในการโกงการเลือกตั้ง ในยุคประธานาธิบดี ลี ยังแมน ด้วยซ้ำ ขณะเดียวกันตัวเขาเองก็เหมือนจะสนับสนุนประธานาธิบดีปาร์คด้วยอีกแรง เขาเป็นคนชี้ทางไป Blue House ให้ทหาร แม้แต่ลูกชายเขายังบังคับให้ภรรยาคลอดก่อนกำหนดเพื่อตรงกับเหตุการณ์วันทำการรัฐประหารเสียอย่างนั้น มิหนำซ้ำการทำคลอดยังทุลักทุเล เขาต้องเข็นรถสวนทางกับนักศึกษาที่มาประท้วงการปฏิวัติของนายพลปาร์ค นับเป็นการกระทำที่เอาแน่เอานอนไม่ได้เสียจริงๆ
ฮันโม เป็นคนอย่างไรยังดูได้จากการตั้งชื่อลูกกับหมอดู มีชื่ออยู่สองชื่อ ชื่อหนึ่งจะทำให้ลูกเป็นคนมีอำนาจและร่ำรวย กับอีกชื่อจะทำให้มีชีวิตยืนยาว มีความสุขสบาย แน่นอนว่าไม่มีชื่อไหน หรือสิ่งใดสมบูรณ์พร้อมไปทุกสิ่ง ฮันโมเลือกชื่อหลังคือ นักอัน
หลังจากที่วันดีคืนดีเขาก็ได้มาเป็นช่างตัดผมของประธานาธิบดี จากคนที่ไม่รู้อะไรเลย ก็ต้องรับรู้ว่าวิถีชีวิตแบบสบายๆ หรือสิ่งที่ตนเคยคิดว่าฉลาดประสาซื่อนั้น ใช้ไม่ได้สักนิดในกรอบของการเมืองแบบทหาร ที่ทั้งบับคับ ขู่เข็ญ และทำให้ชีวิตเขาและครอบครัวไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เขาและคนเกาหลีใต้ได้รับผลกระทบระดับแรกคือความรู้สึกชินชา การปกครองมีแต่การรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหตุการณ์ไม่ปรกติกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นจนคนต่างเฉยไปกับมัน เพราะแม้แต่ตัวฮันโมเองยังบังคับภรรยาและลูกอยู่หลายอย่าง ราวกับเป็นพฤติกรรมเลียนแบบในสังคม การบังคับเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนละเลยการหาเหตุผลความถูกผิด
แล้วหนังก็แสดงให้เห็นถึงกระทบอีกสองอย่างด้วยกันในยุคที่เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือเริ่มทำสงครามเย็นกันแทนการห้ำหั่นกันรุนแรงเหมือนเช่นเคยเกิดกับสงครามเกาหลี
อย่างแรกคืออิทธิพลของโฆษณาชวนเชื่อ การที่ฮันโมได้กลายเป็นช่างตัดผมประธานาธิบดี ได้เดินทางเคียงข้างแม้แต่การไปเยือนอเมริกา เศรษฐกิจการค้าก้าวหน้า ทำให้เขามองภาพช่างตัดผมสูงขึ้น ถึงขนาดมีฉากหนึ่งเขาเล่าเรื่องความสำคัญของช่างตัดผมในอดีตเสมือนแพทย์ผู้รักษาคนเจ็บให้ นักอัน ฟังอย่างภูมิใจ
ต่อมาคือผลกระทบต่อรายบุคคล ซึ่งเจ็บปวดไม่ด้อยกว่าผลกระทบต่อประชาชนทั้งหมด เมื่อสายลับเกาหลีเหนือบุกเข้ามาในเขตเกาหลีใต้ และนำโรคอุจจาระร่วงติดมาด้วย ทำให้เกิดการตามหาผู้ติดโรคด้วยการโฆษณาให้คนเชื่อว่าคนเหล่านั้นเป็นผู้ช่วยสายลับเหล่านั้นไว้ โชคร้ายของฮันโม ที่นักอันลูกชายเขาติดโรคนี้ และร้ายกว่านั้นที่เขาก็ยังเชื่อต่อรัฐบาลยอมให้ลูกชายไปมอบตัว ซึ่งนำไปสู่ฉากพลิกผันของเรื่องเมื่อเขาได้ประจักษ์ว่าที่แท้จริงเขาก็เป็นแค่ช่างตัดผม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือคนธรรมดานั่นเอง
ฮันโมไม่ใช่ ฟอรเรสต์ กัมป์ ผู้เข้าใจชีวิตด้วยกล่องช็อคโกแลตตามคำสอนของแม่, ไม่ได้เป็นเพื่อนที่ดี,คนรักที่ดี เขาเป็นคนธรรมดาสามัญ เช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องก้มหน้ายอมรับชะตากรรมอันเจ็บปวดที่เข้ามาในชีวิต ไม่ใช่คนยิ่งใหญ่มีชื่อก้องโลก แต่ก็คนเหล่านี้นี่เองที่ผู้ดำรงอยู่ สร้างชีวิตใหม่ๆ ให้เป็นความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้นไป อย่างน้อยเขาก็ขอทำหน้าที่พ่อของลูกเท่าที่คนอย่างเขาพึงกระทำ
ท้ายเรื่องเมื่อประธานาธิบดี ปาร์ค ชุงฮี เสียชีวิตจากการรัฐประหารอีกครั้ง เขาได้รับการทาบทามอีกครั้งให้เป็นช่างตัดผมของประธานาธิบดีคนใหม่ ฮันโมกลับเลือกที่จะปฏิเสธ ซึ่งมันก็แสดงให้เห็นการเติบโตอีกขั้น แม้จะเป็นก้าวที่ช้า แต่เขาก็ได้เริ่มต้นแล้ว
ไม่แปลกถ้าจะมีเรื่อง เอลวิส, สงครามเวียดนาม มาปะปนซึ่งทำให้หนังถูกขนานนามว่าเป็น “Forrest Gump ฉบับเกาหลี” เพราะยุคสมัยนั้นเกาหลีใต้มีการติดต่อระหว่างอเมริกาอยู่ไม่ขาด(เช่นเดียวกับที่เกาหลีเหนือมีฝ่ายตรงข้ามอย่างรัสเซียติดต่อมาไม่ต่างกัน ) แม้ว่าโดยรวมหนังจะมีอิทธิพลจาก Forrest Gump อยู่มาก รวมกับการเร้าอารมณ์อันมากล้นตามธรรมเนียมหนังเกาหลี ก็ดูจะทำให้หลายฉากจงใจมากเกินงามอยู่บ่อยๆ
หากทุกอย่างก็มีเพื่อให้เห็นถึงสาระหลักที่มุ่งเน้นการยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น อาจเหมือนกับความไม่รู้ในตอนต้นด้วยอาการนิ่งเฉย แต่แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน
ช่วงเวลาที่เจ็บปวดแห่งประวัติศาสตร์นั้นบางทีการจะตัดสินบ่งชี้ใครเป็นตัวรองรับความผิด อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีมากกว่าการมองด้วยเหตุผล ด้วยความปรองดอง และยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดซึ่งผ่านพ้น เช่นเดียวกับที่ President ‘s Barber ต้องการสื่อเช่นนั้น...เราไม่ได้เห็นใครตัดสินความผิดไปที่ท่านประธานาธิบดีของเขา, ฮันโมไม่ได้โทษที่เขาต้องมีชีวิตใหม่ด้วยความหวาดกลัว, ไม่มีใครโทษใครในสงครามเวียดนาม แม้คนที่กลับมาจากการรบจะเปลี่ยนไปเป็นคนละคน หรือแม้แต่นักอัน เด็กผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ทั้งที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวใดๆ เลย
อาจเป็นปรัชญาการมองโลกที่ง่ายดาย และแง่ดีเกินไป
สำหรับบางคน ท่ามกลางชีวิตที่วุ่นวายอย่างที่เป็นอยู่ แต่ชีวิตมองให้เป็นอุดมคติได้ สิ่งดีๆ ก็ต้องมีให้เห็น
เช่นที่คนแบบฮันโม และลูกของเขาพอจะมองเห็นแสงสว่างของวันข้างหน้านั่นไง
ราวกับเป็นเรื่องปรกติของการเมืองในช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง มีการปฏิวัติรัฐประหารกันเป็นว่าเล่น จะว่าน่าเศร้าก็น่าเศร้า แต่ถ้าจะมองให้เป็นเรื่องน่าขัน มนุษย์เราก็คิดไปกันได้อีกเหมือนกัน มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่แรงเท่าไม้ซีกไม่คิดงัดไม้ซุก ก็ปรับตัวปรับใจยอมรับ เอาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย คิดให้ความทุกข์ที่ถาโถมไม่เป็นเรื่องสลดหดหู่ใจไปเสีย
แต่เชื่อเถิดว่าความจริงมันก็เป็นเรื่องน่าเศร้าอยู่ดี
แม้ President ‘s Barber ผลงานของผู้กำกับ อิม ชานซาง จะนำเสนอยุคสมัยของประธานาธิบดี ปาร์ค ชุงฮี ซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศเกาหลีใต้ในยุคร่วมสมัยยาวนานที่สุด ด้วยท่าทีของดราม่าปนอารมณ์ขันเบาๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ถึงความรู้สึกเศร้าๆ ที่ปะปนอยู่ในหนัง
ซอง ฮันโม(ซง กังโฮ ) ช่างตัดผมในกรุงโซล ย่านเฮียวดาจอง ชุมชนที่ใกล้ Blue House ซึ่งเป็นที่พำนักของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ โชคชะตาเล่นตลกให้เขากลายมาเป็นช่างตัดผมของประธานาธิบดี ปาร์ค ชุงฮี ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เขามีส่วนรู้เห็นในการโกงการเลือกตั้ง ในยุคประธานาธิบดี ลี ยังแมน ด้วยซ้ำ ขณะเดียวกันตัวเขาเองก็เหมือนจะสนับสนุนประธานาธิบดีปาร์คด้วยอีกแรง เขาเป็นคนชี้ทางไป Blue House ให้ทหาร แม้แต่ลูกชายเขายังบังคับให้ภรรยาคลอดก่อนกำหนดเพื่อตรงกับเหตุการณ์วันทำการรัฐประหารเสียอย่างนั้น มิหนำซ้ำการทำคลอดยังทุลักทุเล เขาต้องเข็นรถสวนทางกับนักศึกษาที่มาประท้วงการปฏิวัติของนายพลปาร์ค นับเป็นการกระทำที่เอาแน่เอานอนไม่ได้เสียจริงๆ
ฮันโม เป็นคนอย่างไรยังดูได้จากการตั้งชื่อลูกกับหมอดู มีชื่ออยู่สองชื่อ ชื่อหนึ่งจะทำให้ลูกเป็นคนมีอำนาจและร่ำรวย กับอีกชื่อจะทำให้มีชีวิตยืนยาว มีความสุขสบาย แน่นอนว่าไม่มีชื่อไหน หรือสิ่งใดสมบูรณ์พร้อมไปทุกสิ่ง ฮันโมเลือกชื่อหลังคือ นักอัน
หลังจากที่วันดีคืนดีเขาก็ได้มาเป็นช่างตัดผมของประธานาธิบดี จากคนที่ไม่รู้อะไรเลย ก็ต้องรับรู้ว่าวิถีชีวิตแบบสบายๆ หรือสิ่งที่ตนเคยคิดว่าฉลาดประสาซื่อนั้น ใช้ไม่ได้สักนิดในกรอบของการเมืองแบบทหาร ที่ทั้งบับคับ ขู่เข็ญ และทำให้ชีวิตเขาและครอบครัวไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เขาและคนเกาหลีใต้ได้รับผลกระทบระดับแรกคือความรู้สึกชินชา การปกครองมีแต่การรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหตุการณ์ไม่ปรกติกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นจนคนต่างเฉยไปกับมัน เพราะแม้แต่ตัวฮันโมเองยังบังคับภรรยาและลูกอยู่หลายอย่าง ราวกับเป็นพฤติกรรมเลียนแบบในสังคม การบังคับเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนละเลยการหาเหตุผลความถูกผิด
แล้วหนังก็แสดงให้เห็นถึงกระทบอีกสองอย่างด้วยกันในยุคที่เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือเริ่มทำสงครามเย็นกันแทนการห้ำหั่นกันรุนแรงเหมือนเช่นเคยเกิดกับสงครามเกาหลี
อย่างแรกคืออิทธิพลของโฆษณาชวนเชื่อ การที่ฮันโมได้กลายเป็นช่างตัดผมประธานาธิบดี ได้เดินทางเคียงข้างแม้แต่การไปเยือนอเมริกา เศรษฐกิจการค้าก้าวหน้า ทำให้เขามองภาพช่างตัดผมสูงขึ้น ถึงขนาดมีฉากหนึ่งเขาเล่าเรื่องความสำคัญของช่างตัดผมในอดีตเสมือนแพทย์ผู้รักษาคนเจ็บให้ นักอัน ฟังอย่างภูมิใจ
ต่อมาคือผลกระทบต่อรายบุคคล ซึ่งเจ็บปวดไม่ด้อยกว่าผลกระทบต่อประชาชนทั้งหมด เมื่อสายลับเกาหลีเหนือบุกเข้ามาในเขตเกาหลีใต้ และนำโรคอุจจาระร่วงติดมาด้วย ทำให้เกิดการตามหาผู้ติดโรคด้วยการโฆษณาให้คนเชื่อว่าคนเหล่านั้นเป็นผู้ช่วยสายลับเหล่านั้นไว้ โชคร้ายของฮันโม ที่นักอันลูกชายเขาติดโรคนี้ และร้ายกว่านั้นที่เขาก็ยังเชื่อต่อรัฐบาลยอมให้ลูกชายไปมอบตัว ซึ่งนำไปสู่ฉากพลิกผันของเรื่องเมื่อเขาได้ประจักษ์ว่าที่แท้จริงเขาก็เป็นแค่ช่างตัดผม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือคนธรรมดานั่นเอง
ฮันโมไม่ใช่ ฟอรเรสต์ กัมป์ ผู้เข้าใจชีวิตด้วยกล่องช็อคโกแลตตามคำสอนของแม่, ไม่ได้เป็นเพื่อนที่ดี,คนรักที่ดี เขาเป็นคนธรรมดาสามัญ เช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องก้มหน้ายอมรับชะตากรรมอันเจ็บปวดที่เข้ามาในชีวิต ไม่ใช่คนยิ่งใหญ่มีชื่อก้องโลก แต่ก็คนเหล่านี้นี่เองที่ผู้ดำรงอยู่ สร้างชีวิตใหม่ๆ ให้เป็นความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้นไป อย่างน้อยเขาก็ขอทำหน้าที่พ่อของลูกเท่าที่คนอย่างเขาพึงกระทำ
ท้ายเรื่องเมื่อประธานาธิบดี ปาร์ค ชุงฮี เสียชีวิตจากการรัฐประหารอีกครั้ง เขาได้รับการทาบทามอีกครั้งให้เป็นช่างตัดผมของประธานาธิบดีคนใหม่ ฮันโมกลับเลือกที่จะปฏิเสธ ซึ่งมันก็แสดงให้เห็นการเติบโตอีกขั้น แม้จะเป็นก้าวที่ช้า แต่เขาก็ได้เริ่มต้นแล้ว
ไม่แปลกถ้าจะมีเรื่อง เอลวิส, สงครามเวียดนาม มาปะปนซึ่งทำให้หนังถูกขนานนามว่าเป็น “Forrest Gump ฉบับเกาหลี” เพราะยุคสมัยนั้นเกาหลีใต้มีการติดต่อระหว่างอเมริกาอยู่ไม่ขาด(เช่นเดียวกับที่เกาหลีเหนือมีฝ่ายตรงข้ามอย่างรัสเซียติดต่อมาไม่ต่างกัน ) แม้ว่าโดยรวมหนังจะมีอิทธิพลจาก Forrest Gump อยู่มาก รวมกับการเร้าอารมณ์อันมากล้นตามธรรมเนียมหนังเกาหลี ก็ดูจะทำให้หลายฉากจงใจมากเกินงามอยู่บ่อยๆ
หากทุกอย่างก็มีเพื่อให้เห็นถึงสาระหลักที่มุ่งเน้นการยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น อาจเหมือนกับความไม่รู้ในตอนต้นด้วยอาการนิ่งเฉย แต่แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน
ช่วงเวลาที่เจ็บปวดแห่งประวัติศาสตร์นั้นบางทีการจะตัดสินบ่งชี้ใครเป็นตัวรองรับความผิด อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีมากกว่าการมองด้วยเหตุผล ด้วยความปรองดอง และยอมรับสิ่งที่ผิดพลาดซึ่งผ่านพ้น เช่นเดียวกับที่ President ‘s Barber ต้องการสื่อเช่นนั้น...เราไม่ได้เห็นใครตัดสินความผิดไปที่ท่านประธานาธิบดีของเขา, ฮันโมไม่ได้โทษที่เขาต้องมีชีวิตใหม่ด้วยความหวาดกลัว, ไม่มีใครโทษใครในสงครามเวียดนาม แม้คนที่กลับมาจากการรบจะเปลี่ยนไปเป็นคนละคน หรือแม้แต่นักอัน เด็กผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ทั้งที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวใดๆ เลย
อาจเป็นปรัชญาการมองโลกที่ง่ายดาย และแง่ดีเกินไป
สำหรับบางคน ท่ามกลางชีวิตที่วุ่นวายอย่างที่เป็นอยู่ แต่ชีวิตมองให้เป็นอุดมคติได้ สิ่งดีๆ ก็ต้องมีให้เห็น
เช่นที่คนแบบฮันโม และลูกของเขาพอจะมองเห็นแสงสว่างของวันข้างหน้านั่นไง
|